ความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า

2830 สัปดาห์ ที่แล้ว - คนดู 8,136
  • ความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า รูปที่ 1
รายละเอียด

 

     เพื่อความปลอดภัยในการเชื่อมโลหด้วยไฟฟ้า ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นอย่างยิ่งต้องศึกษาถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งโดยทั่วไปอันตรายในการเชื่อมโลหด้วยไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น2 ประเภทคือ
          1.อันตรายที่เกิดจากธรรมชาติ(Inherent  Hazards) อันตรายที่เกิดจากธรรมชาติของการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าผู้ปฏิบัติงานเชื่อมจะต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้
            1.1 อันตรายที่เกิดอาการช๊อกจากกระแสไฟฟ้า(ELECTRIC SHOCK) อาการช๊อกที่เกิดจากสายดินหรือการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า อันเนื่องมา จากความชื้นของถุงมือ,เสื้อ,พื้นหรือ            
                  ความเปียกชื้นทั่ว ๆ  ไปจะต้องคอยระมัดระวังถ้าเกิดอาการช๊อกจะช่วยตัวเองไม่ได้จะมีการกระตุก ถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิต  เพราะฉะนั้นไม่ควรจะเข้าไปจับสัมผัส หรือเข้าไป
                  ต่อในวงจรของกระแสซึ่งจะมีผลเช่นเดียวกันกับผู้ถูกกระแสไฟช๊อก คือมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
            1.2 อันตรายที่เกิดจากการถูกเผาไหม้(BURNS) อันตรายจากการเผาไหม้ จะมีสาเหตุจากคามผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงานโดยตรงอาจจะมาจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรืออุปกรณ์ปกป้องตัวอื่น                     เช่น หน้ากาก, ถุงมือ เสื้อเอี้ยมหนัง ส่วนใหญ่แล้วการถูกเผาไหม้  จะมาจากความร้อนของรังสี ที่เกิดจากเปลวอาร์ก ขณะทำการเชื่อมหรือสัมผัสกับชิ้นงานเชื่อมซึ่งมีความร้อนสูง                           ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้
            1.3 อันตรายที่เกิดจากพลังงานรังสี(RADIANT  ENERGY)การปฏิบัติงานเชื่อม  จะเกิดพลังงานรังสีขึ้น 4 ระดับ รังสีที่มองเห็น(Visible  Light  Rays)  สามารถมองเห็นได้ด้วย
                   ตาเปล่ามีความถี่อยู่ในช่วง 400-750u  เมื่อถูกรังสีช่วงนี้จะทำให้ตามัวและมืดไปพักหนึ่ง อันเนื่องจากช่างเชื่อมปิดหน้ากากไม่ทัน หรือไม่มีเลนซ์ป้องกันที่เหมาะสมหรือไปอยู่ใกล้                        เคียงกับบริเวณที่ทำการเชื่อมอาร์ก  ทำให้ประสาทตาระคายเคืองและอาจทำให้ตาบอดได้ ในการเชื่อมด้วยรังสีเลเซอร์ ก็จะทำให้เกิดตาบอดได้ถ้า ลำแสงเลเซอร์ไปกระทบตาเข้าไม่                    ว่าจะกินเวลาเล็กน้อยก็ตาม ดังนั้นในการปฏิบัติการเชื่อมด้วยรังสีเลเซอร์จะต้องวางมาตรการการป้องกันอย่างดีและมีอุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม
               1.3.1 รังสีอินฟราเรด  (INFRARED  RAYS)  รังสีระดับนี้มีความถี่คลื่นสูงกว่า750 uขึ้นไปประสาทตาไม่สามารถจะมองเห็นได้รังสีตัวนี้ให้ความร้อนสูงและจะทำอันตรายต่อผิวหนังได้
               1.3.2 รังสีอัลตร้าไวโอเลต  (ULTRAVIOLET  RAYS)  การเชื่อมอาร์ก ซึ่งจะเกิดรังสีประเภทนี้ขึ้นจะทำอันตรายต่อผิวหนังและตาที่ไม่มีสิ่งป้องกันจะทำให้ผิวหนังถูกเผาไหม
                         และเกิดระคายเคืองในเบ้าตาคล้ายกับมีเม็ดทรายเข้าไปอยู่ในตารังสีอัลตร้าไวโอเลต ยังมีส่วนทำให้บริเวณที่มีการเชื่อมเปลี่ยนแปลงทางเคมีของโอโซนบรรยากาศของ                                        ออกซิเจนเปลี่ยนแปลงอ๊อกไซด์ของไนโตรเจนในบรรยากาศไนโตรเจน  
               1.3.3 รังสีเอ็กซ์เรย์  (X-RAYS)   จะเกิดจากการเชื่อมด้วยระบบ อีเล็คตรอนบีม(Electron   Beam   Welding :  EBW)เพื่อป้องกันรังสีเอกซ์เรย์รั่วซึม จะต้องทำแผ่นป้องกันรังสี
                               ในห้องเชื่อมเป็นอย่างดี ผู้ปฏิบัติการจะต้องได้รับรังสีเอ๊กซ์เรย์ไม่เกิน5,000milli-rems ต่อปีหรือ100 milli-rems ต่อสัปดาห์ และในการรับรังสีเอกซ์เรย์ในอุตสาหกรรม
                               จะต้องอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 1/10 ครั้งของระดับปฏิบัติการอาชีพ
               1.3.4 อันตรายที่เกิดจากเสียง (NOISE) ในการเชื่อมด้วยระบบพลาสม่า(Plasma  Arc)ความเร็วและอุณหภูมิที่เกิดขึ้นของลาสม่าเจ็ทวิ่งผ่านหัวฉีด จะมีระดับความถี่เสียงสูงมาก
                         เพราะฉะนั้นถ้าทำงานกับระบบนี้ แล้วควรจะมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงมิฉะนั้นจะเกิดอันตรายต่อประสาทหูได้ในทำนองเดียวกัน การเชื่อมวาย (Flash Welding)ก็จะเกิดความถี่เสียงสูงมากซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประสาทหูได้
          2.อันตรายที่แฝงอยู่ในระบบการเชื่อม(LATENT HAZARD) อันตรายที่แฝงอยู่ในระบบนี้ก็คือ ควัน,ฝุ่นและแก๊สพิษที่เกิดจากปฏิบัติการเชื่อมพื้นฐานของกลุ่มควันและแก๊สเหล่านี้ ซึ่งจะเกิด ผลกระทบจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้
            2.1 ควันและฝุ่นเชื่อม (WELDING FUMES&WELDING DUSTS )ควันและฝุ่นเชื่อมเป็นส่วนที่มีขนาดเล็ก ในระดับจุลภาคที่ติดเข้าไปกับลมหายใจ และสะสมอยู่ในช่องว่างของปอด
                   จนกระทั่งปอดอักเสบ จนถึงขั้นเป็นมะเร็งในปอด อาการไข้ที่เกิดจากควันของโลหะเป็นอันตรายสูงสุดอันหนึ่งในงานเชื่อม ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนรูปฟอร์มอ๊อกไซด์ของโลหะประเภท                      ต่าง ๆเช่นสังกะสีออกไซด์สำหรับเคลือบผิวโลหะ สารแคลเซี่ยมฟลูออไรด์  (CaF2)ที่ละเอียดอ่อน ซึ่งเกิดจากสารพอกหุ้มแกนลวดเชื่อมที่เป็นด่าง(Basic Coated Lime-Fluoride                      or Low-Hydrogen)ไม่สะลายตัวในสภาวะปกติ  มีความละเอียดอ่อน  แต่มีปฏิกิริยาสูงเมื่อผสมกับบรรยากาศที่มีความชื้น จะทำให้เกิดกรดไฮโดรฟลูออริค(HF)สูงมาก หากเข้าสู่ระบบ                    การหายใจและสะลายในร่างกายมีปริมาณที่พอเหมาะจะเกิดอาการเจ็บป่วยได้เร็วมาก
            2.2 แก๊ส  (GASES) แก๊สอาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการปฏิบัติงานเชื่อม โดยทั่ว ๆ ไปจะเกิดแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ ,โอโซนและอ๊อกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตราย  ดังนี้
               2.2.1 ก่อให้เกิดการอักเสบที่ปอด(Inflammation of the Lung)
               2.2.2 น้ำท่วมปอด(Pulmonary Edema)ปอดบวมและมีน้ำสะสม
               2.2.3 สูญเสียการยืดหยุ่นของปอด(Emphysema)
               2.2.4 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง(Chromic Bronchitis)
 
ข้อปฏิบัติในการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า
     เพื่อความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า ผู้ปฏิบัติงานเชื่อม ควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
          1  ตรวจสอบสอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์การเชื่อมโลหะให้มีความสมบูรณ์ใน การใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้า
          2  ปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากหยุดการเชื่อมและเคลื่อนย้ายเครื่องเชื่อม
          3  สวมหน้ากากและเลือกกระจกแสงให้ถูกต้องทุกครั้งในการเชื่อม
          4  สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
          5  ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ควรมองแสงอาร์กด้วยตาเปล่า
          6  บริเวณงานเชื่อมควรมีฉากป้องกันแสงอาร์ก เพื่อมิให้รบกวนบุคคลอื่น
          7  บริเวณทำงานเชื่อมไม่ควรเปียกชื้นเพราะจะทำให้ไฟฟ้าดูด ผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลอื่นได้
          8  บริเวณทำงานเชื่อมจะต้องปราศจากสารไวไฟชนิดต่าง ๆ 
          9  เครื่องเชื่อมไฟฟ้าควรจัดตั้งในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
เครื่องเชื่อม