ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

2865 สัปดาห์ ที่แล้ว - คนดู 6,690
  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รูปที่ 1
รายละเอียด

ระบบภูมิคุ้มกัน คืออะไร ?

ระบบภูมิคุ้มกัน คือกุญแจดอกสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพ โดยจะช่วยในการปกป้องเรา จากโรคต่างๆตั้งแต่โรคหวัดจนถึงโรคมะเร็ง นอกจากนั้นยังสามารถช่วยต่อสู้กับสารพิษต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายเรา รวมถึงช่วยชะลอความชรา  ดังนั้นหากเราใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพอันเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร , การอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆที่เป็นพิษสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่บั่นทอนระบบภูมิคุ้นกันให้อ่อนแอลงและสิ่งที่ตามมา คือ เรามีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร ?

ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่เสมือนกองทัพที่ปกป้องร่างกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบทางเดินน้ำเหลืองและกระแสเลือด โดยจะทำหน้าที่

1. ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อราที่มารุกราน
2. กำจัดเนื้อเยื่อที่ตายและถูกทำลายลง

ระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อเมื่อ มีดุลยภาพที่สมบูรณ์ เช่น ลำไส้ของเรานั้นจะมีทั้งแบคทีเรียที่ดีและอันตรายอยู่ด้วยกัน ตราบใดที่แบคทีเรียทั้ง 2 ชนิด ในลำไส้อยู่ด้วยกันอย่างสมดุลนั้น ระบบการย่อยก็จะแข็งแรง แต่ในทางตรงข้ามกัน หากแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิด ในลำไส้อยู่กันแบบไร้สมดุลก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของระบบการย่อยและอาจติดเชื้อได้

ศัตรูของระบบภูมิคุ้มกัน ?

เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันนั้นต้องการสารอาหารบางประเภท เพื่อช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล เช่น อินเตอร์เฟียรอนนั้นเป็นสารต้านไวรัสและมะเร็งที่ถูกขับออกมาโดยเนื้อเยื่อทั่วร่างกายก็ต้องการ Vitamin C ดังนั้นการบริโภคอาหารที่ขาดสารอาหารที่สมดุลก็จะบั่นทอนระบบภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอลง

นอกจากนั้นศัตรูที่สำคัญ ๆ นอกเหนือจากการบริโภคอาหารแล้วได้แก่

- ความเครียด
- การสูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- การบริโภคแอลกอฮอล์และคาเฟอีนมาก
- มลพิษต่าง ๆ รวมถึงการบริโภคยาปฏิชีวนะต่าง ๆ อีกด้วย

ภูมิคุ้มกันต่ำเป็นอย่างไร ?

ระบบภูมิคุ้มกันที่ด้อยประสิทธิภาพจะส่งสัญญาณให้เห็นได้ง่าย ๆ เช่น การที่คนเราป่วยเป็นหวัดกันปีละ 1-2 ครั้ง และบางครั้งอาจทำให้เราติดเชื้อบ่อยครั้งขึ้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ อีก ได้แก่ ระบบการย่อยผิดปกติ อาการปวดเมื่อยตามตัวและข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังหมองคล้ำ

Transfer Factor คืออะไร ?

จากบทความในวารสาร ฟาร์มาไทม์ [ปีที่ 7 ฉบับที่ 73 มกราคม 2552] (“ฟาร์มาไทม์” เป็นวารสารรายเดือน มุ่งนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทัศนะ และกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาคมผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั้งในภาครัฐและเอกชน) ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับความสำคัญของ Transfer Factor

น้ำนมแรกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ Transfer Factor ปกติน้ำนมแม่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกหรือลูกน้อย ธรรมชาติได้จัดสรรให้น้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีคุณภาพเหมาะสมสำหรับลูก น้ำนมเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญซึ่งมีคุณภาพสูง มีไขมันที่เรียกว่า มันเนย ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงาน มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมาก มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลแล็คโตสที่จะช่วยดูดซึมฟอสฟอรัส และแคลเซียม ซึ่งมีอยู่มากในน้ำนมได้ดี นอกจากนี้ ยังมี vitamin มากมาย เช่น vitamin A, B1, B2, Niacin และ vitamin C เป็นต้น
    
ใน 4 -7 วันแรกของน้ำนมแม่ หรือที่เราเรียกว่า “น้ำนมแรก” จะมีน้ำนมน้ำเหลือง (colostrum) ไหลออกมาประมาณวันละ 10-40 ซีซี. ซึ่งน้ำนมน้ำเหลืองหรือน้ำนมแรกนี้ จะประกอบด้วย โปรตีน และ เกลือแร่ที่สูงกว่าปกติของน้ำนมทั่วไป แต่จะมีไขมันและน้ำตาล lactose ต่ำกว่า ข้อดีเด่นของน้ำนมแรกหรือน้ำนมน้ำเหลืองก็คือมีภูมิต้านทานโรคในปริมาณที่สูง โดยมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Transfer Factor (ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์) อยู่ในน้ำนมแรกนี้ ซึ่งได้ถูกค้นพบโดย Dr. H. Sherwood Lawrence (ดร. เอช เชอร์วูดลอเร้นซ์) ในปี ค.ศ.1949 จากนั้นจึงได้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง พบว่า Transfer Factor นี้เป็น protein ขนาดเล็กที่ประกอบด้วย amino acid จำนวน 44 ตัว และเนื่องจากมีน้ำหนักโมเลกุลไม่เกิน 10,000 และเล็กมาก จึงไม่เป็น antigen ดังนั้น เมื่อ Transfer Factor เข้าสู่ร่างกาย จึงไม่ถูก immune system ทำลาย ทำให้คงอยู่ในร่างกายได้นาน บางทีเป็นปี ๆ
    
Transfer Factor ซึ่งมีความหมายว่า ตัวปัจจัย (factor) ทำหน้าที่ถ่ายทอด (transfer) ของสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิต้านทานต่อ antigen ชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อนำไปให้กับสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยได้รับ antigen นั้นมาก่อน ก็จะสามารถชักนำให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับ Transfer Factor มีภูมิต้านทานต่อ antigen ดังกล่าวเกิดขึ้น นั่นคือ ทำให้เกิด passive cellular immunity ได้ หรือความสามารถในการแสดงออกของภูมิต้านทานแบบ cell mediated immunity จากผู้ให้ที่มีภูมิคุ้มกันไปสู่ผู้รับที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

หรืออาจกล่าวได้ว่า Transfer Factor เป็น dialyzable materials ที่ได้มาจาก sensitized lymphocytes มีคุณสมบัติเปลี่ยน non-sensitized T lymphocyte เป็น sensitized T lymphocyte ซึ่งหลังจากเปลี่ยนสภาพแล้ว เมื่อพบ antigen (ที่ specific ต่อ Transfer Factor) ก็จะประพฤติตัวเช่นเดียวกับ sensitized T lymphocyte มีข้อสังเกตว่า ถ้าเอา lymphocyte ของคนหรือสัตว์ที่ได้รับ Transfer Factor เช่นกันอีกแล้วนำมาสกัดก็จะได้ Transfer Factor อีก

กลไกการทำงานของ Transfer Factor
    
กลไกการทำงานของ Transfer Factor ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด บ้างก็สันนิษฐานว่า Transfer Factor ซึ่งเป็น single-stranded polynucleotide อาจเข้าไปใน T lymphocyte และให้ information แก่ T lymphocyte หรือ Transfer Factor เอง อาจถูกนำไปสร้างเป็น specific antigen receptor บน lymphocyte ได้ โดยอาศัยหลักของการชักนำ (inducer fraction) การกระตุ้นและสร้าง antibody เฉพาะอย่าง (antigen specific fraction) และการระงับหรือยับยั้ง (suppressor fraction)

Transfer Factor ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร?
    
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้นำ Transfer Factor มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เนื่องจากทราบว่า Transfer Factor จะให้ความฉลาดกับภูมิคุ้มกันซึ่งถูกถ่ายทอดเพื่อจะใช้ในการจดจำข้อมูลจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง โดย Transfer Factor จะทำหน้าที่เสมือนอาจารย์ให้ความรู้กับเซลล์ใหม่ที่ผลิตขึ้นในร่างกาย เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพื่อการอยู่รอดของเซลล์ที่เกิดใหม่ในสภาพแวดล้อมใหม่ รวมทั้งทำให้การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันระหว่างเซลล์ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงได้มีการนำมาใช้ในกรณีของ

  1. Immunodeficiency เพื่อช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย โดยมีข้อดีคือ ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยา graft versus host ในผู้รับที่มี immunodeficiency ดังการให้ lymphocyte เนื่องจาก Transfer Factor เป็นการให้ cellular immunity โดยแท้จริง ซึ่งผิดกับการให้ lymphocyte ที่มักจะมี B lymphocyte ปะปนไปกับ T lymphocyte เสมอ ทำให้ได้ humoral immunity ด้วย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการในการรักษา
  2. ช่วยเพิ่มเซลล์ต้านมะเร็ง (Anti-cancer)
  3. ช่วยเพิ่มเซลล์ต้านเซลล์ติดเชื้อ (infectious disease) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ bacteria, virus, เชื้อรา เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ วัณโรค ตับอักเสบ เริม ไซนัส เป็นต้น
  4. ช่วยปรับความสมดุลของภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV)
  5. ช่วยลดอาการภูมิแพ้ตัวเอง เช่น SLE ข้ออักเสบและการอักเสบอื่น ๆ
  6. ช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด ขึ้นผื่น แพ้อากาศ
  7. โรคผิวหนังบางชนิด ช่วยลดปัญหา เช่น Eczema เป็นต้น

 

ปัจจุบันนี้ Transfer Factor นอกจากจะพบในน้ำนมแรกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแล้ว ยังสามารถพบได้ไข่แดงของไข่ไก่ด้วย ซึ่งก็ได้มีการสกัดสาร Transfer Factor มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยสกัดจากน้ำนมแรกหรือน้ำนมเหลือง (colostrum) ของวัว และจากไข่แดง ในรูปแบบของการใช้รับประทาน จึงเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์และโลกวิทยาการยุคใหม่ เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ของมนุษย์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคติดเชื้อ ภูมิแพ้ ภูมิต้านทานต่ำ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคมะเร็ง กันอย่างกว้างขวาง